ทำไมต้องแปลงเพศปลานิล ให้เป็นเพศผู้?

   ปลานิลสามารถขยายพันธุ์ได้ดี ปลานิลเพศเมียวางไข่ได้ตลอดปี จึงโตช้ากว่าปลานิลเพศผู้ แม่ปลาจะไม่กินอาหาร เพราะอมไข่ไว้ในปาก ลูกปลาที่ฟักตัวมีจำนวนมาก ทำให้ปลาแน่นบ่อ ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไม่เจริญเติบโตได้ตามต้องการ ปลานิลเพศผู้จึงมีอัตราการเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลาเพศเมีย 

         เพื่อผลิตปลานิลเพศผู้ เทคนิคการแปลงเพศเป็นเทคนิคหนึ่งที่นำมาใช้ได้ผลดี เนื่องจากลูกปลาที่ฟักเป็นตัวใหม่ๆ ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเพศใดเพศหนึ่งอย่างชัดเจน การเพิ่มฮอร์โมนเพศในช่วงเวลาดังกล่าว จึงสามารถควบคุมให้แสดงออกเป็นเพศใดเพศหนึ่งได้ โดยฮอร์โมน 17α -methyltestosterone (MT) เป็นฮอร์โมนแอนโดรเจนที่นิยมใช้มากในการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ ใช้ผสมในอาหาร หากกระบวนการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ประสิทธิภาพในการแปลงเพศย่อมสมบูรณ์ การผลิตปลานิลเพศผู้ด้วยการใช้ฮอร์โมนจึงมีความสำคัญต่อการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www4.fisheries.go.th/…/20161216135305_file.pdf

ขั้นตอนการฉีดฮอร์โมนเพาะพันธุ์กบ

คัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ ที่จะใช้ผสมพันธ์ุฉีดฮอร์โมนในอัตราส่วนที่กำหนดตรงตำแหน่งกล้ามเนื้อขาด้านในของกบหลังจากฉีด 8 ชั่วโมง ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ หลังจากวางไข่ 24 ชั่วโมง ไข่จะเริ่มฝัก(หลังจากแม่พันธุ์วางไข่แล้ว ให้แยกแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ออก

Read More »

ทำไมต้องปลาช่อน

ปลาช่อน (Snake head fish) เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยมาก เนื่องจากเป็นปลาที่นิยมนำมาประกอบอาหารมากชนิดหนึ่ง เพราะเป็นปลาที่ให้เนื้อสีขาวน่ารับประทาน มีเนื้อมาก เนื้อนุ่มอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

Read More »