ขั้นตอนการฉีดฮอร์โมนเพาะพันธุ์กบ

คัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ ที่จะใช้ผสมพันธ์ุฉีดฮอร์โมนในอัตราส่วนที่กำหนดตรงตำแหน่งกล้ามเนื้อขาด้านในของกบหลังจากฉีด 8 ชั่วโมง ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ หลังจากวางไข่ 24 ชั่วโมง ไข่จะเริ่มฝัก(หลังจากแม่พันธุ์วางไข่แล้ว ให้แยกแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ออก เพื่อง่ายในการดูแลไข่ที่จะฟัก)

ทำไมต้องปลาช่อน

ปลาช่อน (Snake head fish) เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยมาก เนื่องจากเป็นปลาที่นิยมนำมาประกอบอาหารมากชนิดหนึ่ง เพราะเป็นปลาที่ให้เนื้อสีขาวน่ารับประทาน มีเนื้อมาก เนื้อนุ่มอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด ทำให้ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายในท้องตลาด ตกกิโลกรัมละกว่า 150-200 บาท โดยเกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ นอกจากนี้เกษตรกรยังหันมาเลี้ยงปลาช่อนกันมากขึ้นอีกทั้งยังมีการแปรรูปปลาช่อน เพื่อเพิ่มมูลค่าปลาช่อน

ปลาสลิด ปลาเศรษฐกิจตัวใหม่

ปลาสลิด (Snake Skin Gounrami) ปลาน้ำจืด มีแหล่งกำเนิดอยู่ในลุ่มภาคกลาง มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระดี่หม้อแต่ขนาดโตกว่า เลี้ยงง่าย กินน้อย ลงทุนครั้งเดียวสามารถต่อยอดได้ตลอดทั้งปี นิยมนำมาทำเค็มและตากแห้งสำหรับนำมาทอด ปิ้งย่าง และยำรับประทานเป็นหลัก นอกจากนั้น มีแหล่งเลี้ยงที่สำคัญในหลายจังหวัด เช่น สุพรรณบุรี สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาหมอ ปลากด ปลากัด ปลาแรด และปลากระดี่

8 ข้อ มือใหม่ควรรู้ ก่อนเลี้ยงปลาน้ำจืด

1.สำรวจความพร้อมของบ่อปลาที่เรามี เพื่อที่เราจะได้ใช้สิ่งที่มีโดยลงทุนเพิ่มน้อยที่สุด ซึ่งบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาโดยทั่วไป ได้แก่ -บ่อดิน บ่อปูน/ซีเมนต์ บ่อผ้าใบ/บ่อพลาสติก กระชัง 2.ศึกษารายละเอียดของปลาที่จะเลี้ยง -สายพันธุ์ การดูแล สภาพแวดล้อม ความต้องการของตลาด ระยะเวลาเลี้ยง ต้นทุนการเลี้ยง ปลาชนิดไหนกินเนื้อหรือกินพืช 3.สำรวจความพร้อมของตัวเอง -ดูว่าเราอยากเลี้ยงปลาอะไร มีเวลาดูแลแค่ไหน ความพร้อมของเงินทุน เช่น ถ้าเรามีร่องน้ำในสวนปาล์มและอยากใช้ประโยชน์จากมันแต่ไม่มีเวลาดูแล ไม่ได้ไปให้อาหาร อาจจะปล่อยปลากินพืชในปริมาณน้อย ๆ ให้กินสารอินทรีย์ในน้ำ เช่น ปลาสลิด ปลาหมอตาล ปลานิล 4.การเตรียมบ่อ -บ่อดิน ควรตากบ่อให้แห้ง 1-2 วันแล้วหว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินและกำจัดสัตว์ต่าง ๆ ที่หลงเหลือในบ่อแล้วตากบ่อไว้ 1-2 วันจึงเติมน้ำ -บ่อปูน/ท่อซีเมนต์ ถ้าเป็นบ่อใหม่ต้องแช่น้ำไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ -บ่อผ้าใบ/บ่อพลาสติก สามารถเติมน้ำเลี้ยงได้ทันทีหรือแช่น้ำไว้สัก 1 สัปดาห์ก่อนก็ได้ หลักการเดียวกับบ่อปูน -กระชัง ถ้าเป็นกระชังใหม่ควรปักหรือแขวนกระชังไว้ก่อนปล่อยลูกปลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ให้ตะไคร่เกาะ ถ้ากระชังใหม่จะทำให้เป็นโรคหนวดเปื่อย หัวเปื่อย 5.อัตราการปล่อย […]

ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ ดีอย่างไร?

เพาะพันธุ์ปลา จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนไหม? ฉีดแล้ว มันดีอย่างไร? 1. สามารถเพาะพันธุ์ปลาบางชนิด (ที่ไม่วางไข่ในที่กักขัง เช่น ปลาสวาย) 2. การเพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน จะช่วยให้แม่ปลาวางไข่พร้อมกัน ทำ ให้ลูกปลาที่ได้มีขนาดเท่าๆกัน 3. สามารถควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคพยาธิ จากพ่อแม่พันธุ์ ไปสู่ลูกปลา 4. สามารถเพาะพันธุ์ปลาได้ก่อนฤดูวางไข่ตามธรรมชาติ 5. สามารถผสมพันธุ์ปลาข้ามชนิดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์ปลา 6.สำหรับพ่อพันธุ์จะช่วยกระตุ้นน้ำเชื้อให้มีคุณภาพมากขึ้น ฮอร์โมนกระตุ้นไข่ อัลวาปริม (Alvaprim) ใช้ได้กับปลาน้ำจืด และกบ ผสมธรรมชาติ และผสมเทียม ฉีดเวลาใดก็ได้ ถ้าพ่อแม่พันธุ์พร้อมจะเห็นผลใน 8-18 ชม. ฉีดแม่ > ฮอร์โมนจะช่วยกระตุ้นการตกไข่ ไข่เยอะขึ้น ไข่สุกพร้อมกัน ** แม่พันธุ์ต้องมีไข่ก่อน ** ฉีดพ่อ > ฮอร์โมนจะช่วยกระตุ้นน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ให้มีคุณภาพ ** ปลาเพศผู้ ต้องโตเต็มที่มีความพร้อมเป็นพ่อพันธุ์ **

ทำไมต้องแปลงเพศปลานิล ให้เป็นเพศผู้?

   ปลานิลสามารถขยายพันธุ์ได้ดี ปลานิลเพศเมียวางไข่ได้ตลอดปี จึงโตช้ากว่าปลานิลเพศผู้ แม่ปลาจะไม่กินอาหาร เพราะอมไข่ไว้ในปาก ลูกปลาที่ฟักตัวมีจำนวนมาก ทำให้ปลาแน่นบ่อ ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงไม่เจริญเติบโตได้ตามต้องการ ปลานิลเพศผู้จึงมีอัตราการเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลาเพศเมีย           เพื่อผลิตปลานิลเพศผู้ เทคนิคการแปลงเพศเป็นเทคนิคหนึ่งที่นำมาใช้ได้ผลดี เนื่องจากลูกปลาที่ฟักเป็นตัวใหม่ๆ ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเพศใดเพศหนึ่งอย่างชัดเจน การเพิ่มฮอร์โมนเพศในช่วงเวลาดังกล่าว จึงสามารถควบคุมให้แสดงออกเป็นเพศใดเพศหนึ่งได้ โดยฮอร์โมน 17α -methyltestosterone (MT) เป็นฮอร์โมนแอนโดรเจนที่นิยมใช้มากในการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ ใช้ผสมในอาหาร หากกระบวนการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ประสิทธิภาพในการแปลงเพศย่อมสมบูรณ์ การผลิตปลานิลเพศผู้ด้วยการใช้ฮอร์โมนจึงมีความสำคัญต่อการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://www4.fisheries.go.th/…/20161216135305_file.pdf

ทำไมต้องผสมเทียมปลา

การผสมเทียม หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำโดยนำน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ผสมกับไข่ของแม่พันธุ์ โดยที่สัตว์ไม่ต้องผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติขั้นตอนก่อนการผสมเทียมปลา : วางยาสลบปลาด้วย AQUA NAP เพื่อให้ปลานิ่ง สามารถจับฉีดฮอร์โมนได้ง่าย โดยเลือกใช้ ALVAPRIM หรือ Cinnafact E เพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำเชื้อให้พ่อพันธุ์และเร่งไข่ให้แม่พันธุ์ ฮอร์โมนจะออกฤทธิ์ใน 8-18 ช.ม.คำแนะนำ : ใช้ยาสลบเพื่อให้ปลานิ่ง และลดความเจ็บให้แก่ปลา การผสมเทียมปลา มีขั้นตอน ดังนี้            1. รีดไข่ออกจากท้องของแม่พันธุ์ลงในภาชนะ            2. รีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ออก ใส่ภาชนะที่มีไข่ปลาที่รีดไว้แล้ว            3. ใช้น้ำสะอาดผสมเข้าไป และใช้ขนไก่คนน้ำเชื้อให้ผสมกับไข่ให้ทั่วภาชนะแล้วทิ้งไว้สักครู่ และนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟักในบ่อ เพื่อฟักเป็นตัวอ่อนของลูกปลาความรู้เพิ่มเติม : การรีดน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ขึ้นอยู่กับกายภาพของปลาแต่ละชนิด บางชนิดรีดได้เลย บางชนิดถุงน้ำเชื้ออยู่ลึกต้องผ่าท้องเอาถุงน้ำเชื้อออกมา เช่น […]